สารนาโน ไคโตซาน พืชโตไว แข็งแรง ต้านทานโรค ผลผลิตสูง ใช้ปุ๋ยน้อยลง ลดต้นทุน
หมวดหมู่ : การเกษตร , 
Share
เอสเคที นาโนไคโตซาน ขนาด 1000 ซีซี(1 ลิตร)
SKT นาโน ไคโตซาน เป็นไบโอโพลิเมอร์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญในรูปของ D – GLUCOSAMINE พบได้ในธรรมชาติ โดยเป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือกนอกของสัตว์พวก กุ้ง ปู แมลง และเชื้อรา เป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือ ที่เป็นวัสดุชีวภาพ ( BIOMETERIALS ) ย่อยสลายตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์ ไม่เกิดผลเสียและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการแพ้ ไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ ( NON – PHYTOTOXIC ) ต่อพืช นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเพิ่มปริมาณของสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ ไคโตซาน เป็นสารอาหารเข้มข้นชนิดน้ำ เป็นสารไบโอโพลีเมอร์ชีวภาพ ที่สกัดมาจากธรรมชาติ 100% ไร้สารเคมี เป็นสารปรับสภาพดินและน้ำ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มผลผลิตพืชทุกชนิด ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์เลี้ยง และสัตว์ทุกชนิด ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ หรือผู้บริโภค ไม่เป็นพิษตกค้าง และไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับ นาข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น กล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ ฯลฯ และสัตว์ทุกชนิด ไคโตซานมีประโยชน์ต่อพืชอย่างไร
1. เป็นสารปรับสภาพดินและน้ำ
2. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์
3. เป็นตัวช่วยให้พืชกินอาหาร กินปุ๋ยไ ด้ดี ช่วยเร่งรากเร่งใบ เร่งลำต้น เร่งดอก เร่งผล ทำให้พืชและสัตว์โตเร็ว และแข็งแรง
4. สร้างความต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดี
5. ใช้เคลือบเมล็ดพันธ์
6. ใช้ในการยืดอายุและรักษาคุณภาพผลผลิต
7. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์
8. ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น มีคุณภาพดี ปลอดสารพิษ
ไคโตซานมีประโยชน์ต่อสัตว์อย่างไร
1. คลุกเคล้าอาหารสัตว์น้ำ ทำให้อาหารละลายช้า (มากกว่า 12 ชั่วโมง)
2. ตรึงสารพิษและหยุดยั้งฤทธิ์ของเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอาหารสัตว์เลี้ยง
3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารของสัตว์น้ำและสัตว์บก
4. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและต้านทานโรค สัตว์กินแล้วแข็งแรงไม่ป่วยง่าย ลดการใช้วัคซีนและสารเคมี
5. สัตว์กินไคโตซานจะโตเร็ว เนื้อแน่น ผิวสวย สะอาด เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค
6. ช่วยบำบัดน้ำเสีย ช่วยให้น้ำใสสะอาด สัตว์น้ำมีสุขภาพแข็งแรง ผิวสะอาด ไม่มีกลิ่นโคลนตม
7. ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ และลดอาการท้องเสียของสัตว์ทุกชนิด เช่น ไก่ เป็ด หมู วัว ควาย ฯลฯ
8. กรณีน้ำในบ่อเน่าเสีย ไคโตซาน 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร สาดให้ทั่วบ่อพื้นที่ 1 ไร่
ประะโยชน์ของไคโตซานด้านการเกษตร คุณสมบัติ วิธีการใช้ อัตรา 1. แมลง : กระตุ้นให้พืชสร้างความภูมิคุ้มกัน โดยผลิตพืช เอนไซม์และสารเคมีป้องกันตนเอง เช่น สร้างลิกนิน แทนนิน และกระตุ้นให้สร้างไคติเนส ซึ่งจะย่อยผนังเปลือกหุ้มตัวแมลง ศัตรูพืช เช่น หนอนใย หนอนคืบ พ่นทางใบ 10 – 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
2. โรค : ยับยั้ง การเจริญเติบโตเชื้อสาเหตุของโรคพืชรักษาและสร้างภูมิต้านทานโรค - ไวรัสโรคพืช - แบคทีเรีย เช่น แคงเคอร์ ใบจุด - เชื้อรา เช่น ไฟทอปธอร่า พิเทียม BOTRYTIS CINERES RHIZOPUS STOLONIFER แอนแทรคโนส เมลาโนส ราน้ำค้าง ใบติดราขาว รากเน่า -โคนเน่า โรคใบจุด โรคใบสีส้มข้าว ใบลาย พ่นทางใบ 10 – 50 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
3. ใช้เคลือบเมล็ดพันธุ์ ลดความเสียหายจากการถูกทำลายโดยเชื้อรา และแมลง ชุบเมล็ดพันธุ์นาน 6 ชั่วโมง 10 ซีซี / น้ำ 1 ลิตร
4. ใช้ควบคุมไส้เดือนฝอย (รวมทั้งเชื้อรา เช่น FURARIUM SPP. ) (ในฝ้าย พืชผัก กล้วยไม้ ผลไม้ ฯลฯ ) * วิธีการนี้ยังใช้ต้นทุนสูงไม่คุ้มการลงทุน ใช้เป็นรูปผง ใส่ลงดินแล้วไถกลบลึก 6-8 นิ้ว 2-4 สัปดาห์ ก่อนปลูกพืช 1 กรัม / ตารางวา ( 1 ตัน / ACRE ) ( 3% ปริมาตร / ปริมาตร)
5. เพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น ACTIOMYCETES SP. TRICHODERMA SPP. ในดิน ลดจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค เช่น FURARIUM SP. PHYTHOZHTHORA SPP. 6. เพิ่มความเจริญเติบโตในพืชผัก ได้แก่ คะน้า หอม หน่อไม้ฝรั่ง ผักต่าง ๆ ( ผลดีกว่าไม่พ่น 20% และน้ำหนักมากกว่า 20-40% ) ฉีดพ่นทุก ๆ 7วัน ( 3-4 ครั้ง ) 10-15 ซีซี
SKT นาโน ไคโตซาน
เป็นสารปรับปรุงดินและน้ำ ช่วยให้รากพืชแข็งแรง
ยับยั้งเชื้อรา สร้างความต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช
สกัดจากธรรมชาติ 100%
ทำไมต้องใช้นาโนไคโตซานตรา เอส เค ที นาโน กับพีช
1.ช่วยยับยั้งและสร้างความต้านทานโรคให้กับพืช
การยับยั้งเชื้อสาเหตุของโรคพืช ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด โดยไคโตซานจะซึมผ่านเข้าทางผิวใบ ลำต้นพืช ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพืช
ในกรณีที่เกิดเชื้อโรคพืชแล้ว ยังรักษาโรคพืช และสร้างความต้านทานโรคให้กับพืชที่ไม่ติดเชื้อโดยไคโตซาน มีคุณสมบัติที่สามารถออกฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้นต่อพืชได้ ช่วยกระตุ้นระบบป้องกันตัวเองของพืช ทำให้พืชผลิตเอนไซม์ และสารเคมีเพื่อป้องกันตนเอง พืชจึงลดโอกาสที่จะถูกคุกคาม โดยเชื้อต่างๆ สาเหตุของโรคพืชได้ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรใช้ไคโตซานขณะที่พืชยังเล็กหรือตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก ไคโตซานจะช่วยเคลือบ เมล็ดพันธุ์หรือแช่เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก
ป้องกันเชื้อราที่จะมาทำร้ายเมล็ดพันธุ์ กระตุ้นการงอกของรากของเมล็ดพันธุ์ได้ดี เร่งรากยาวทำให้พืชสามารถกินปุ๋ยได้มากขึ้น ดังนั้นจึงลดปุ๋ยลง เมื่อพืชกินปุ๋ยได้มากขึ้น ก็ขยายท่อลำเลียงพืชได้ดีขึ้น ลำต้นใหญ่ขึ้น พืชจึงสมบูรณ์ทำให้เพิ่มผลผลิต ทั้งผลผลิตที่ได้ก็มีคุณภาพดี ป้องกันและกำจัดโรคพืช กระตุ้นให้พืชสร้างสารป้องกันโรคพืช เช่น ไฟโตอะเล็กซิน ไคติเนส รวมทั้ง ยับยั้ง RNA ของเชื้อรา ไม่ให้สามารถขยายพันธุ์ได้ พืชจึงแข็งแรง (90% โรคพืชเกิดจากเชื้อรา) ประหยัดยาฆ่าแมลง เชื้อรา โรคพืชเพราะไม่มีแมลงมากินต้นพืช ทำให้สามารถผลิตสารลิกนิน เพื่อ ป้องกันเชื้อราได้ด้วยตนเอง พืชจะแข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อโรคได้ด้วยตนเอง พืชจะแข็งแรงมีภูมิต้านทานต่อโรค
2. ทำให้พืชเกิดการสร้างความต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช
ไคโตซาน จะกระตุ้นให้มีการผลิตสารลิกนินและแทนนินของพืชมากขึ้น พืชสามารถป้องกันตัวเองจากการกัด ดูด ทำลายของแมลงศัตรูพืช จะสังเกตว่าต้นพืชที่ได้รับ ไคโตซาน จะมีแวกซ์เคลือบที่ผิวใบ ซึ่งปกติแล้วพืชจะสร้างสารเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันตัวจากแมลง ศัตรูพืชและโรคพืชต่าง ๆ แต่ในต้นพืชที่ไม่สมบูรณ์มากพอ การสร้างสารแวกซ์เหล่านี้จะบางตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อถูกแมลงเข้าทำลาย จึงเสียหายได้ง่าย และในทิศทางเดียวกันเมื่อแวกซ์ของพืช
ถูกทำลายเป็นโอกาสให้เชื้อราหรือแบคทีเรียโรคพืชเข้าทำลายซ้ำอีกครั้ง
การฉีดพ่นสารไคโตซานจึงไปช่วยในการเคลือบใบ ผลและดอกที่ถูกแมลงศัตรูพืชทำลาย ทำให้เชื้อราหรือแบคทีเรียโรคพืช ไม่สามารถเข้าไปย่อยสลายเซลพืชได้ และไคโตซาน จะมีกลิ่นเฉพาะตัว ซึ่งเป็นกลิ่นที่แมลงปีกแข็ง ศัตรูพืชได้กลิ่นจะบินหนีไป เพราะได้กลิ่นเฉพาะของไคโตซาน แมลงที่กัดกินต้นพืชจะไข่ทิ้งไว้ เพื่อขยายพันธุ์ จึงทิ้งสาร ไคโตซาน ไว้เพื่อจับจองพื้นที่แมลง เมื่อได้กลิ่นจะบินหนีทันที เพราะคิดว่าพื้นที่บริเวณนี้มีแมลงมาจับจองพื้นที่แล้วนั่นเอง
3.สารเร่งการเจริญเติบโตของพืช
ไคโตซานถูกใช้เป็นสารเร่งการเจริญเติบโต ให้ผลเช่นเดียวกับฮอร์โมนเร่งราก ใช้กระตุ้นการงอกของกิ่งชำไม้ดอกและไม้ประดับต่าง ๆ โดยนำส่วนของพืชที่ต้องการชำแช่ในสารละลายเจือจางของไคโตซานประมาณ 2 ชั่วโมง ก่อนนำไปปักชำในวัสดุเพาะชำ การฉีดพ่นไคโตซานในนาข้าวส่งให้ผลผลิตข้าวมีปริมาณเพิ่มขึ้น 41.7 – 91.5% โดยขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูก และการใช้ไคโตซานฉีดพ่นกล้วยไม้ซึ่งมีผลเร่งการเจริญเติบโตของใบใหม่ ปริมาณไคโตซานที่เหมาะสมต่อการเพิ่มจำนวนดอกและกระตุ้นการเจริญเติบโตของใบ
4. ช่วยปรับค่าPHและเป็นประโยชน์ต่อจุลินทรีย์ในดิน
ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน ไคโตซาน สามารถ ส่งเสริมการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เช่น เชื้อที่มีประโยชน์ต่อพืชทำให้เกิดการลดปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคพืช ปรับค่า PH ของดินให้เป็นกลาง เป็นปุ๋ยให้แก่พืช
ผลการใช้นาโนไคโตซานที่ผ่านมา ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ปลอดสารพิษ
https://youtu.be/76kaTaWB_qE
นาโนไคโตซานกับมะเขือ
https://youtu.be/10_RP6RqFzY
นาโนไคโตซานกีบมะเขือเทศ
https://youtu.be/IROjB9SceiA
นาโนไคโตซานกับมะเขือยาว
https://youtu.be/Kwsx_CkneS4
มะเขือเทศกับนาโนไคโตซาน